"พระเจ้าพรหม"
มหาราชองค์แรกของไทย
หากมีการตั้งคำถามว่า
กษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์ไทยยกย่องว่าเป็น
"มหาราช"
องค์แรกของไทย
คือ
พระองค์ใด
หลายคนคงนึกถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
บางคนอาจจะนึกถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
หรือบางคนอาจนึกไปได้ไกลถึงพระเจ้ามังรายมหาราช
เพราะแต่ละพระองค์ล้วนแต่ครองราชย์ในช่วงหลายร้อยปีก่อนหน้าโน้น
และมีพระนามเป็นที่คุ้นหูอย่างดี
แต่ความเป็นจริง
พระมหากษัตริย์ไทยเราที่ทรงเป็นมหาราชองค์แรก
ก็คือ "พระเจ้าพรหมมหาราช"
ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยให้รอดพ้นจากการรุกรานย่ำยีของพวกขอม
เมื่อประมาณ
๑,๐๖๔
ปีล่วงมาแล้ว
ในสมัยอาณาจักรโยนกหรืออำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย
ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม
ในเรื่องของเวลา
แต่ละตำราจะเขียนไว้ไม่เหมือนกัน
ในที่นี้จะขอยึดข้อมูลจากหนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค
จังหวัดเชียงราย
ซึ่งเอา "ตำนานสิงหนวัติฉบับสอบค้น"
มาเป็นหลักอ้างอิง
กล่าวคือย้อนไปเมื่อ
พ.ศ.๑๔๖๐
ในรัชสมัยของ
พระเจ้าพังคะ
หรือ
พระองค์ฬั่ง
กษัตริย์องค์ที่
๔๓
แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ
ได้ถูกพวกขอมขับไล่จากเมืองโยนกพันธุ์ไปอยู่เมืองเวียงสี่ตวง
ใกล้แม่น้ำสาย
จนกระทั่ง
๔ ปีต่อมา
หรือเมื่อ
พ.ศ. ๑๔๖๔
มเหสีของพระองค์ไปประสูติโอรสคนที่
๒
มีการขนานนามว่า
"พระเจ้าพรหมกุมาร"
ในตำนานได้กล่าวถึงประวัติตอนปฐมวัยของ
"พระเจ้าพรหมกุมาร"
เต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
เช่น
เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้๗
ปี
ก็สามารถเล่าเรียนวิชาเพลงอาวุธและตำราพิชัยสงคราม
จนจบครบถ้วนกระบวนความ
หรือเมื่อพระองค์มีพระชันษาได้
๑๓ ปี
ได้ทรงสุบินว่า
มีเทพยดามาบอกว่า
จะมีช้าง ๓
ตัวล่องน้ำโขงมา
และให้เจ้าพรหมกุมารไปล้างหน้าที่นั่น
หากจับช้างตัวแรกได้จะมีอานุภาพปราบได้ทั้ง
๔ ทวีป
ถ้าจับได้ตัวที่
๒
จะมีอานุภาพได้ชมภูทวีป
ถ้าจับได้ตัวที่
๓
จะปราบแว่นแคว้นล้านนาได้
พอรุ่งเช้า
เจ้าพรหมกุมารจึงได้พาบริวารประมาณ
๕๐ คน
ไปยังท่าน้ำ
ครั้งแรกเห็นงูเหลือมเลื่อมเป็นมันระยับลอยผ่านไปแล้ว
๑ ตัว
พอตัวที่ ๒
ก็เป็นงูอีกเหมือนกัน
พอตัวที่ ๓
เจ้าพรหมกุมารจึงทรงนึกถึงเรื่องในสุบินนั้นคงเป็นงูนี่เอง
จึงพร้อมกับบริวารช่วยกันจับงู
เมื่อเจ้าพรหมกุมารสามารถขึ้นขี่
งูก็กลายเป็นช้างไปทันที
แต่ไม่ยอมขึ้นฝั่ง
จนกระทั่งบริวารต้องเอาพานทองคำตีล่อ
ช้างจึงยอมขึ้นจากน้ำ
และมีการเรียกชื่อว่า
"ช้างพานทองคำ"
พระเจ้าพรหม
ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
มีความสามารถและโปรดในการสงคราม
เมื่อสามารถเตรียมกำลังไพร่พลได้อย่างเต็มที่แล้ว
ก็ทูลพระบิดาให้เลิกการส่งส่วยแก่ขอม
พวกขอมจึงยกทัพขึ้นไปปราบ
พระเจ้าพรหมก็คุมกำลังออกต่อสู้และขับไล่พวกขอมจนแตกพ่าย
สามารถยึดเมืองโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติคืนได้เมื่อ
พ.ศ.๑๔๗๙
ในขณะที่พระองค์มีพระชันษาได้เพียง
๑๖
ปีเท่านั้น
สำหรับช้างพานทองคำ
เมื่อเสร็จสงครามก็ได้หายไปทางดอยลูกหนึ่ง
ซึ่งต่อมาเรียกว่า
"ดอยช้างงู"
แต่ชาวเขาเผ่าอีก้อออกเสียงไม่ชัดเจน
เรียกว่า "ดอยสะโง้"
และได้เรียกเพี้ยนมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนพระเจ้าพรหม
เมื่อได้อัญเชิญพระบิดามาครองเมืองโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติ
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองโยนกชัยบุรีแล้ว
พระองค์ก็นำทัพไปขับไล่ขอมจนถึงเมืองกำแพงเพชร
จนหมดเชื้อชาติขอมในอาณาจักรโยนกแล้วจากนั้นพระองค์ก็ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองอุมงคลเสลาเก่า
เมื่อ พ.ศ.
๑๔๘๐
เพื่อเป็นด่านหน้าคอยป้องกันพวกขอมยกทัพกลับมาตีอีก
และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น
"เมืองไชยปราการ"
ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอชัยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่
นั่นเอง
พระองค์ได้ครองเมืองไชยปราการได้
๕๙ ปี
ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ
พ.ศ.๑๕๔๐
ต่อมาได้มีการขนานนามพระองค์ว่า
"พระเจ้าพรหมมหาราช"
นับเป็นมหาราชองค์แรกของชาติไทย.-
ธีรยุทธ
บุญแผ่ผล….เรียบเรียง
teerayut@mcot.or.th
|